01 กรกฎาคม 2553

1 Kom-ranad-ake


"คมระนาดเอก" นามนี้เป็นชื่อที่ได้จากชื่อเล่น "คม" ผสมกับเครื่องดนตรีที่ชอบ
ระนาดเอก และตำแหน่งที่เล่นในวงปี่พาทย์ ระนาดเอก
เนื่องจากตำแหน่งระนาดเอกนั้นเหนื่อยยากมาก จึงขอ
ลำลึกถึงและขอเชิดชูเกรียติ...นักระนาดเอกยอดฝีมือทุกๆ
ท่าน...หากพระเจ้าไม่ได้ประทานพรพลังช้างสารมาให้ท่าน
กว่าจะได้เป็นยอดฝีมือคงต้องฝึกกันมาหนักมากๆ ...และคม
ก็เป็นเด็กคนหนึ่งที่พบเจอความเหนื่อยยากนี้ แต่ก็ยัง
รักดนตรีไทยและใฝ่ฝันจะเป็นผู้มีฝีมือทางระนาดเอก

ถ่ายทอดเรื่องราวโดย...แม่


จุดเริ่มต้นของคม

เริ่มจากแม่ได้มองหาสิ่งที่ลูกชอบ สนใจ และมาประสบผลเมื่อลูกได้ดู
ภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง” ที่ลาโรงไปหลายปีแล้ว ซึ่งลูกได้ดูตอนอายุ
ราว 5 ขวบ เขาดูได้บ่อย ดูซ้ำๆ ดูเป็นปีๆ จดจำทำนองเพลงได้หลายเพลง
และอยากจะตีระนาดเก่งเหมือนนายศร และขุนอิน ตัวละครผู้สร้าง
แรงบันดาลใจ จึงหาที่เรียนระนาดเอกที่ ร.ร. ดนตรีเบญจรงค์
เริ่มต้นตอนอายุราว 8 ขวบ และเรียนมาจนถึงวันนี้


นั่นคือ...จุดที่มาของความรักการเล่นดนตรีไทย ชอบเพลงไทยเดิม แม่เสริมความชอบให้เขาโดยหาเพลงไทยเดิมหลากหลายมาให้ฟัง ลูกจะเลือกฟังเพลงที่เขาชอบอีกที ผลที่ได้เวลาเรียนดนตรี ลูกจำเพลงได้เร็ว แม่นยำ เล่นได้ดีในเพลงที่เขาชอบ เมื่อเล่นเพลงทางระนาดเอกได้มากพอสมควร ซึ่งใช้เวลาเรียนระนาดเอก 1 ปีกว่าๆ ลูกก็สนใจอยากเล่นเครื่องสายเพิ่มขึ้นอีกเครื่อง จึงเริ่มเรียนซออู้ เรียนได้ราวครึ่งปี ก็เปลี่ยนมาเป็นซอด้วง และเรียนคู่กันมากับระนาดเอกจนถึงปัจจุบัน


ด้วยความที่รักเพลงไทยเดิม รักการเล่นดนตรีไทย
ของคม...เขามีความคิด และได้พูดว่า...
“ผมจะไม่ยอมให้เครื่องดนตรีไทย
ถูกวางอยู่แต่ในพิพิธภัณฑ์”

ซึ่งผู้เป็นพ่อแม่ไม่อยากเชื่อว่าเขาจะพูดขึ้นมาได้
และเขาก็ได้แสดงออกให้ได้ฟังได้ดูกัน

เมื่อมีโอกาสลงผลงานในอินเตอร์เน็ต คมจึงนำผลงานเพลงไทยเดิมที่ทำไว้แยกเป็น แบบฟังเพลงไทยเดิม และแสดงการเล่นเพลงไทยเดิม มาเผยแพร่โดยเป็นผู้บรรเลงด้วยตนเองทั้งหมด เต็มความสามารถแบบเด็กๆอาจผิดพลาด ไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์แบบ ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย


ประสบการณ์ทางดนตรีไทย

คุณค่าของระนาดรางเล็ก

ตอนเรียนระนาดช่วงแรกของคม เมื่อได้เพลงจากโรงเรียนดนตรีมาแล้ว ต้องกลับมาซ้อมเพลงที่บ้านมีเพียงระนาดรางเล็ก มีลูกระนาด 17 ลูก ถ้าเทียบกับระนาดรางใหญ่ มีลูกระนาด ถึง 22 ลูก ระนาดรางเล็กจึงขาดเสียงโน้ตไป 5 เสียงมันจึงทำให้คม รู้จักใช้การตีเสี้ยวเพื่อทดเสียงให้ได้ครบหรือใกล้เคียง คมได้ใช้ระนาดรางเล็กฝึกซ้อมทุกเพลงที่เรียนมา และคมต้องปรับตัวอย่างมากกับท่ากางแขนตีระนาดทั้งสองรางที่ต่างขนาดกัน เขาใช้ระนาดรางเล็กซ้อมได้นานกว่า 6 เดือน ด้วยเหตุผลว่า อยากให้พ่อแม่ไว้ใจว่าเขาตีระนาดได้จริงซื้อให้แล้วไม่เสียเปล่า ต่อมาจึงมีระนาดรางใหญ่เป็นของตัวเองด้วยความภาคภูมิใจ


วีดีโอ "เพลงฟ้อนเงี้ยว"


ประสบการณ์...ระนาดตัวอ่อน


เรียนระนาดเอกได้ราว 2 เดือนกว่า ออกแสดงงานครั้งแรกในห้างโลตัสใกล้โรงเรียน
ในงาน วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2551 (คมตื่นเต้น และสนุกในงานนี้)





วีดีโอ "เพลงลาวกระทบไม้ "



ก้าวสู่
...เวทีใหญ่

เรียนระนาดเอกได้ราว 6 เดือน ได้ร่วมแสดงงาน ยุวชนคีตศิลป์ครั้งที่ 2
ที่โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง ในวันที่ 10 ธันวาคม 2551
เพลงที่ใช้ในงานแสดง



เพลงที่ใช้ในงานแสดง
- เพลงตับแม่ศรีทรงเครื่อง (ตับนก) เป็นเพลงชุดประกอบด้วย....นกโพระดก / นกกางเขน /
นกกาเหวา / ไก่ (ในช่วงนั้นถือเป็นเพลงยากที่สุดของคม และในวงมีเด็กจะเล่นได้น้อยคน
แสดงร่วมกับคณาจารย์วง ”คำหวาน”


- เพลงตับภุมรินทร์ เป็นเพลงชุดประกอบด้วย....ผีเสื้อ / นกสาริกา / นกยูง / นกสีชมพู


- เพลงยอยศพระลอ หรือลาวกระทบไม้ บรรเลงร่วมกับศิลปินรับเชิญ อ.ชินกร ไกรลาศ
ศิลปินแห่งชาติ


- ลาวดวงเดือน บรรเลงร่วมกับศิลปินรับเชิญ อ.ชินกร ไกรลาศ และขุนอิน
อ.ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า



วีดีโอ "เพลงรวม"
มีเสียงคมตีระนาด เพลงลาวดวงดอกไม้ คลอช่วงต้น

1 ความคิดเห็น: