11 เมษายน 2554

คมแต่งเพลง...เอี้ยงเล่นน้ำ

คมแต่งเพลง บรรเลง อัดเสียง-2

ต่อจากเพลง ”เอี้ยงมองเงา” ที่นกชอบส่องกระจก คมได้เห็นนกเอี้ยงมีหลายท่าทางที่น่าสนใจ และท่าเฉพาะของนกตัวนี้อีกลักษณะกริยาหนึ่ง คือ เอี้ยงชอบเล่นน้ำมาก ถ้านำน้ำมาใส่ในถาดกินน้ำของมันจนเต็ม มันจะอยากอาบน้ำ เล่นน้ำทุกครั้ง มันจะเอาหัวมุดลงไปในน้ำเพื่อชุบตัว แล้วมาสะบัดขน ไซร้ขน อย่างอารมณ์ดี สนุกสนาน เหมือนคนได้อาบน้ำก็จะสดชื่นขึ้น
















  
คมชอบลักษณะกริยาที่นกเอี้ยงเล่นน้ำ บันเทิงมาก จึงเป็นที่มาของการแต่งเพลงลำดับที่ 2 ของคม...ให้กับเจ้านกเอี้ยง เพลงนี้ให้ชื่อว่า “เอี้ยงเล่นน้ำ” อารมณ์เพลงนำเสนอแนว สนุก คึกคัก





ในเชิงดนตรี คมใช้ระนาดเอกเป็นเครื่องหลัก นำเสียง และใช้ซออู้เป็นเครื่องล้อเสียง จังหวะใช้หน้าทับลาวแบบเร็ว ใช้วิธีอัดเสียงซ้อนกันโดยเล่นคนเดียว แยกเพลงให้ฟังออกเป็น 2 แบบคือ ฟังระนาดเอกเล่นกับจังหวะ และแบบเพิ่มเสียงล้อ โดยมีเสียงซออู้เป็นเครื่องล้อตาม




 

      



03 เมษายน 2554

คมแต่งเพลง บรรเลง อัดเสียง



ผลงานเพลงของเด็ก อยากลองทำ

ปิดเทอมใหญ่ คมมีเวลาว่าง จึงมีโอกาสคิดทำผลงานของตนเองนั่นคือ ทดลองการแต่งเพลงขึ้นมาสักเพลง เป็นความใฝ่ฝันที่อยากมีผลงานของตัวเอง และอยากทำให้เกิดเป็นผลงานที่สัมผัสได้จริง โดยคมเป็นผู้...แต่งเพลง...เขียนโน้ต...เล่นดนตรีเองทุกประเภท...บันทึกเสียง...เรียบเรียงเพลง  โดยมีแม่เป็นผู้ช่วยร่วมกันทำงานกับคอมฯ จนเกิดผลงานออกมา

 


แนวความคิดในการแต่งเพลงขึ้นมา ได้จากลักษณะอาการของนกเอี้ยง หรือ แขกผู้มาเยือน...บ้านของคม คมเห็นนกเอี้ยงมันน่ารัก จึงแต่งเพลงให้เจ้าเอี้ยงมีชื่อว่า "เอี้ยงมองเงา" เจ้าเอี้ยงมันชอบส่องกระจกดูตัวเองแล้วนิ่ง เคลิ้ม เพลินอยู่นาน กระจกเหมือนกล่อมนกให้มีความสุข มีเพื่อน เลยตั้งเป็นอารมณ์เพลง ให้ออกมาฟังเพลิน ไพเราะ (ความไพเราะนั้น ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล)  ใครฟังไม่เพราะคมต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า และขอขอบคุณที่เข้ามารับฟัง



ในเชิงดนตรี คมจะทดลองเอาโน้ตเพลงที่คมแต่งไว้ มาเล่นกับเครื่องดนตรีไทยทุกประเภทที่คมเล่นได้ มาบรรเลงให้ฟัง ได้แก่ ระนาดเอก ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ย  และแบบรวมเครื่องดนตรีเหมือนเล่นเป็นวง แต่ของจริงเล่นคนเดียว ใช้วิธีอัดเพลงหลายเที่ยว แล้วนำเสียงมาร่วมกันบนคอมฯ เพลงนี้มีอัตราจังหวะสองชั้น ใช้หน้าทับลาวจากกลองไฟฟ้า (ซึ่งคมทำจังหวะคนเดียวไม่ได้)




 
ระนาดเอก + จังหวะ



ซอด้วง + จังหวะ  

ซออู้ + จังหวะ


 
ขลุ่ย + จังหวะ 




 รวมวงหรือ มโหรี (Mini Thai orchestra)