เนื่องในวาระวันพ่อแห่งชาติ ทางโรงเรียนสยามพัฒนา (SPN) ได้จัดวงมโหรีบรรเลงเพลงพญาสี่เสาออกเพลงกล่อมพญา ร่วมเทิดพระเกียรติและถวายพระพรแด่องค์พ่อหลวงของไทย แสดง ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 (สทท.) ทางสถานีได้จัดให้มีการบันทึกการแสดงล่วงหน้าเมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2553 และออกอากาศช่วงวันเฉลิมพระชนฯ ในเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งยังไม่ทราบวันเวลาที่แน่นอน จะขอแจ้งในโอกาสต่อไป
(ออกอากาศ วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 11.30-12.00 น.)
ในส่วนของคมนั้น อาจารย์ได้มีการถามเด็กก่อนว่า สะดวกจะไปแสดงงานนี้ไหม คมตอบว่าไม่ไป เพราะไม่ชอบงานที่ตรงกับวันเรียนถ้าเป็นวันหยุดคมจะเต็มที่ เมื่อคมปฏิเสธ อาจารย์ก็เปลี่ยนมือระนาดเอกเป็นรุ่นพี่อีกคนแทน ส่วนคมยังได้ร่วมเรียนเพลงที่จะไปแสดงด้วย แต่ไปฝึกเล่นฆ้องวงใหญ่ เมื่อถึงช่วงซ้อมรวมวง แปลกใจทำไมมีคนขาดหายไปเยอะ (มารู้ทีหลังว่าพี่ๆ เขาไปเข้าค่ายกิจกรรมของแต่ละโรงเรียน) คมจึงตัดสินใจใหม่ว่าควรจะไปงานนี้ และบอกอาจารย์ว่าจะไปเล่นฆ้องวงใหญ่ เมื่อซ้อมวงร่วมกันมาครึ่งทาง ปรากฏว่า พี่คนที่เล่นระนาดเอกเกิดไม่มั่นใจขอเปลี่ยนไปตีระนาดทุ้มตามเดิม ตำแหน่งระนาดเอกก็ว่างลง และอาจารย์ได้ขึ้นไปตีแทน จนจบการซ้อมของวันอาทิตย์ และวันศุกร์ที่จะถึงจะเป็นวันแสดงจริง
กลับจากเรียนดนตรีจนถึงวันจันทร์เป็นช่วงที่คุยกันในบ้านว่า คมควรจะกลับมาเล่นระนาดเอกซึ่งเป็นเครื่องเอกของตัวเอง ดีกว่ามั๊ย และอาจารย์ก็บอกให้คมเตรียมไปตีระนาดเอกด้วย ส่วนคมก็มีเหตุผลส่วนตัวของเขาคือ งานนี้คมถูกฝึกมาทางฆ้อง คมก็มั่นใจแต่ทางฆ้อง ทางระนาดเอกไม่ได้ต่อเพลงโดยตรงก็ไม่มั่นใจ จะไปเล่นได้อย่างไงเดี๋ยวงานเขาพัง เลยสรุปหาข้อยุติกันตรงที่ ให้คมลองเอาทางฆ้องมาแตกเป็นทางระนาดเอกเอง ทำให้เต็มที่ก่อน ได้ไม่ได้ค่อยว่ากัน กลับจากเรียนของวันอังคาร คมจะซ้อมเพลงที่บ้าน เริ่มได้ยินเพลงพญาสี่เสาแบบมั่วๆ แล้วก็บ่นว่าไม่ไหวแล้ว แม่ก็ให้กำลังใจคุยกับเขาว่า ได้แค่นี้ก็หรูแล้ว เพราะเราคิดทางเพลงเอง และแม่มีตัวช่วยที่ดีถ้าคมยอมรับสิ่งนี้ นั่นคือเสียงบันทึกเพลงในห้องเรียนช่วงอาจารย์เป็นคนเล่นระนาดเอก ซึ่งตอนแรกให้ไปฟังเขาไม่สนใจเลย คิดจะเล่นแต่ฆ้องวงใหญ่อย่างเดียว
วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2553 มาถึงแล้ว ช่วงเช้ามาวัดดวงก่อนออกสนามจริง คมตั้งใจจะมาเล่นระนาดเอกให้อาจารย์ดูก่อนตามลำพัง ปรากฏว่าห้องซ้อมมีผู้ร่วมวงจำนวนมากจาก SPN สาขาใหญ่มาครบคนแล้ว ขาดกลุ่มตีขิมอย่างเดียว คาดไม่ถึงว่าเขาจะมาเร็ว คมเลยต้องตีระนาดเอกไปเลย อาจารย์ค่อยมาดูแล้วปรับการเล่นไปพร้อมๆ คนอื่น ได้เริ่มซ้อมวงตอน 8.30 น. 10.00 น. ออกเดินทาง และ 11.00 น.ต้องเข้าบันทึกเทปการแสดง เพลงพญาสี่เสาออกเพลงกล่อมพญาของคมพึ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจัง ส่วนคนอื่นๆ เขามาทบทวนเพลงกัน โอละหนอ...ชะตาชีวิต...งานนี้จะรอดไหม
วีดีโอ ถ่ายภาพจากทีวี สทท. (11) ขณะออกอากาศ
วีดีโอ บันทึกการแสดง
ในห้องส่งของสถานี (บทเพลงเดียวกัน) ขณะอัดเทป
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ตีฆ้องวงใหญ่...ครั้งแรก
วันนั้นคือวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2553 เป็นวันเรียนดนตรีช่วงหยุดปิดเทอมของภาคเรียนที่ 1 วันสุดท้าย และได้พูดคุยกับอาจารย์สุวิทย์ ซึ่งปิดเทอมนี้อาจารย์ยุ่งมากไม่ค่อยได้เจอกันวีดีโอ บันทึกการแสดง
ในห้องส่งของสถานี (บทเพลงเดียวกัน) ขณะอัดเทป
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ตีฆ้องวงใหญ่...ครั้งแรก
อาจารย์ “จะถามเธอหลายวันแล้วว่าวันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม 2553 ว่างไหมจะชวนไปเล่นดนตรีกับโรงเรียนสยามสามไตรในงานทอดกฐินที่วัดอุดมธรรม”
คมตอบ “วันเสาร์คมไปได้อยู่แล้ว จะให้คมไปเล่นอะไรครับ”
อาจารย์ “จะให้คมไปช่วยเล่นฆ้องวงใหญ่ให้หน่อย ขาดคนตีฆ้อง”
คมก็ร้อง "ผมเนี่ยน๊ะ จะไปเล่นฆ้อง แทบไม่เคยตีฆ้องมาก่อนเลย จะชวนไปแสดงวันพรุ่งนี้เช้า โอ๊ะ...จะเป็นไปได้หรือ...ตั้งตัวอย่างไรดี"
อาจารย์ “เธอต่อเพลงโหมโรงมหาราชจบแลัวไม่ใช่หรือ”
คมตอบ “ผมต่อจบทางซอด้วงครับ”
อาจารย์ “เดี๋ยวให้อาจารย์แบงค์ปรับเป็นทางฆ้องให้ ส่วนเพลงอื่นๆ เธอก็เล่นได้อยู่แล้ว”
แล้วคมก็ฝึกฆ้องวงใหญ่ในเพลงโหมโรงมหาราช ภายในเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
เดี๋ยวอาจารย์จะไม่ว่างแล้ว
เดี๋ยวอาจารย์จะไม่ว่างแล้ว
และนี่คือบรรยากาศที่คมไปแสดงมา ที่...
วัดอุดมธรรม โปษะกฤษณะวราราม เขตทวีวัฒนา กทม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น